Social Icons

17 พ.ย. 2555

ความเป็นมาของปลากัด

 
ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (Siamese fighting fish) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด 

  ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง

  มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นปลาที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish"

  ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น

ที่มาของปลากัด


ปลากัด Betta splendens เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์และชื่อปลากัดเป็นปลาที่พบบ่อยคือจากความนิยมวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมาเป็นเวลานาน บรรดาปลาของประเทศไทยสามารถเข้าถึงได้ง่ายริมคลอง รูปแบบสีที่สวยงามจะข้ามสายพันธุ์ต่างประเทศของสายพันธุ์ทั่วไป ในกรณีที่ปัจจุบันคือสำหรับแต่ละสายพันธุ์ ฉันรู้ว่าเราเป็นบุคคลที่ ปลากัด มันมีอยู่สองวัตถุประสงค์หลักคือล่าสุด กัดสำหรับกีฬาตกปลา ปัจจุบันประเทศไทย ได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางปลา เพราะมันไม่ง่ายที่จะปลาและพืช คุณไม่ดูแลคนจำนวนมากที่ได้เริ่มต้นเพียงการประมง ทั้งสองฝ่ายจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยเพราะปลาที่เรียกว่าร่างกายเขาวงกตพิเศษหายใจอวัยวะซึ่งจะทำหน้าที่ ถอดออกซิเจนจากน้ำ เปลี่ยนเป็นเครื่องที่ฉันหายใจในความกลมกลืนกับธรรมชาติ ประเทศไทยมักจะพบในปลา เมื่อน้ำสงบ น้ำหรือมีออกซิเจนน้อย นอกจากนี้เรายังมีข้าวปลาในประเทศไทย

ที่พบบ่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุเฉลี่ยของปลาผู้ใหญ่ที่มีสองปีหรือน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพของปลาทำไร่ไถนาปลา แต่ตัวละครแบบดั้งเดิม ทึบแสงมักจะมีสีเทาน้ำตาลลายหรือสีเขียวพร้อมครีบหลังและหาง

ปลาตัวผู้มีตีนกบและหางมากกว่าเพศหญิง แต่เพียงไม่กี่ปีในการผสมพันธุ์แถวและการเลือก ปลาอยู่ในตลาดแล้ว มันมีสีที่สวยงาม ครีบมีขนาดใหญ่และขยายเกินความงามแบบดั้งเดิม และสิ่งที่ชนิดของปลาที่อยู่ในประเภทที่แตกต่างกันเช่นอ่างเลี้ยงปลากล่องปลาจีนปลากัด, ปลากัดกัมพูชา ฯลฯ จัด

ปัจจุบันการพัฒนาของสายพันธุ์ปลาได้รับการยอมรับ และปลาเป็นที่นิยมสำหรับความงามของพวกเขา ฉันไม่คิดว่าปลาเหล่านี้จึงมีสีสันมาก ดวงจันทร์ครึ่งสีเหลืองและสีฟ้ามีการอ้างอิงถึงปลา ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นตัวเหนี่ยวนำ ด้วยความเชื่อมั่นว่าปลาที่มีสีสันที่เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดความรู้สึกของปลาตัวเมียที่ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการของเทคนิคเหล่านี้เป็นปลาที่มี ดึงปลาหลากสีสันเท่าที่คุณต้องการและสีเหลือง ผมชอบคู่หญิงในระหว่างปี วิธีนี้เรียกว่า เทคโนโลยีการทำสำเนา Pseudo-แม้ว่ามันจะ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่มันได้รับการยืนยันโดยวัฒนธรรมของคนเสถียรภาพ, กู้ภาพวาด 1-2 ที่คล้ายกับพวกเขา นั่นดูน่าสนใจ และที่แปลกมาก

ประเภทของปลากัด

ปลากัด ปลากัดเก่ง สายพันธุ์ปลากัดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นปลากัดจีน ปลากัดป่า ปลากัดสังกะสี หรือปลากัดชนิดอื่น

ปลากัดจีน

ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

ปลาสังกะสี และ ปลากัดลูกหม้อ


ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือ ปลากัดเดลตา (Delta)


ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือ ฮาล์ฟมูน (Halfmoon)

ปลากัดหางมงกุฎ หรือ ปลากัดคราวน์เทล (Crowntail)

ปลากัดประเภทอื่น

ปลากัดประเภทอื่น

ปลากัด
ปลากัดประเภทอื่น
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีปลากัดประเภทอื่น ๆ เช่น "ปลากัดเขมร" ที่ใช้เรียกปลากัดที่มีสีลำตัวเป็นสีอ่อนหรือเผือก และมีครีบสีแดง "ปลากัดหางคู่" ซึ่งครีบหางมีลักษณะเป็น 2 แฉก อาจแยกกันอย่างเด็ดขาด หรือที่ตรงโคนยังเชื่อมติดกันอยู่ก็ได้ รวมทั้งปลากัดที่เรียกชื่อตามรูปแบบสี เช่น "ปลากัดลายหินอ่อน" และ "ปลากัดลายผีเสื้อ"

ปลากัดหางมงกุฎ

ปลากัดหางมงกุฎ
ปลากัดหางมงกุฎ
เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. 2543 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่น ๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก
เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. 2530 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดเก่งชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง 2 ครั้ง เป็น 4 แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น 2 แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม 180 องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

ปลากัดหางสามเหลี่ยม

ปลากัดหางสามเหลี่ยม
ปลากัดหางสามเหลี่ยม
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน เพื่อให้เป็นปลากัดเก่งโดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม 45 - 60 องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก "ซูเปอร์เดลตา" ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง

ปลากัดลูกหม้อ

ปลากัดลูกหม้อ

ปลาสังกะสี และ ปลากัดลูกหม้อ

เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำมาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่าของหลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) ซึ่งเป็นนักเลงปลาเก่าเชื่อว่า ปลาสังกะสีและปลาลูกหม้อน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยท่านจำได้ว่าก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในฤดูแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง และเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝน ก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่นำมาเลี้ยงไว้ไม่ได้ การเล่นปลาขุดยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ พ.ศ. 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกเรียกว่า "ปลาสังกะสีสีแดง" หรือ "ปลากัดสังกะสี" ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมาในชุดต่อไป จะได้ปลาที่เรียกว่า "ปลาลูกหม้อ" หรือ "ปลากัดหม้อ"
ที่เรียกว่า ปลาสังกะสี สันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ขาดง่ายเมื่อถูกกัดเหมือนปลาป่า ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ มีสีสันลักษณะต่างจากปลาป่า แต่ส่วนมากมีชั้นเชิงและความอดทนในการกัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้
ส่วนที่เรียกว่า ปลาลูกหม้อ นั้น น่าจะมาจากการนำหม้อดินมาใช้ในการเพาะและอนุบาลปลากัดในระยะแรกๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาโดยนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้ และมีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลาลูกหม้อมีรูปร่างหนาใหญ่กว่าปลาป่าและปลาสังกะสี ส่วนมากสีจะเป็นสีน้ำเงิน สีแดง สีเทา สีเขียว สีคราม หรือสีแดงปนน้ำเงิน ครีบหางอาจเป็นรูปมนป้าน หรือรูปใบโพธิ์ การเล่นปลากัดในสมัยก่อนนั้น ปลาลูกหม้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน ส่วนลูกสับหมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่างครอกกัน

ปลากัดลูกทุ่ง

ปลากัดลูกทุ่ง

ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง
เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อน ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว ๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้าน ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า "ปลาป่า" หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย

ปลากัดจีน

ปลากัดจีน

ปลากัดจีน
 เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ ๆ ออกมาอีกมากมาย